การบัญชีเช่าซื้อและซื้อขายผ่อนชำระ
ความหมายและลักษณะของการซื้อขายผ่อนชำระ
การซื้อขายผ่อนชำระ หมายถึง การขายสินค้าที่ผู้ขายส่งมอบสินค้าหรือให้บริการแก่ผู้ซื้อโดยผู้ขายตกลงยินยอมให้ผู้ซื้อชำระเงินค่าสินค้าหรือบริการเป็นงวด ๆ โดยรับเงินจำนวนหนึ่ง ครั้งแรกถือเป็นการวางมัดจำก่อน เงินจำนวนนี้ เรียกว่า เงินดาวน์ หลังจากนั้นผู้ซื้อจะผ่อนชำระส่วนที่เหลือเป็นงวด ๆ ตามระยะเวลาที่ตกลงกัน อาจจะมีการคิดดอกเบี้ยสำหรับเงินที่ค้างชำระ หรือไม่คิดดอกเบี้ยก็ได้
หลักการบัญชีเกี่ยวกับสัญญาซื้อขายผ่อนชำระ
ตามหลักการบัญชีกำไรของกิจการ จะเกิดขึ้นเมื่อมีการจำหน่ายสินค้านั้นได้ เช่น กิจการจำหน่ายสินค้าเป็นเงินเชื่อ จึงแสดงยอดขายสินค้าเป็นรายได้ในงวดบัญชีที่มีการจำหน่ายสินค้านั้นโดยไม่จำเป็นต้องรอการเก็บเงินจากลูกหนี้ได้ก่อน แต่ในกรณีการขายผ่อนชำระ มีระยะเวลาการผ่อนชำระหนี้ที่ยาวนาน ทำให้เกิดความไม่แน่นอนในการเก็บหนี้ ประกอบกับค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการขายผ่อนชำระ เกิดขึ้นในงวดบัญชีภายหลังเป็นจำนวนมาก จึงจำเป็นต้องกระจายไปในหลาย ๆ งวด ดังนั้นจึงมีการยอมรับหลักการบัญชีที่ว่า รายได้จากการขายผ่อนชำระ ยังไม่ถือเป็นรายได้จนกว่าจะเก็บเงินได้ หลักการบัญชีโดยรอการถือเป็นรายได้จากการขายเงินผ่อนไว้จนกว่าจะเก็บเงินค่าสินค้าได้ เรียกว่า หลักการบัญชีตามเกณฑ์การขายผ่อนชำระ ซึ่งสอดคล้องกับกฎหมายภาษีอากร การปฏิบัติตามหลักการบัญชีตามเกณฑ์การขายผ่อนชำระได้รับการสนับสนุนจากกฎหมายว่าด้วยภาษีอากร ซึ่งเป็นผลทำให้กิจการสามารถเลื่อนการชำระภาษีเงินได้ออกไป จนกว่าจะเก็บเงินค่าสินค้านั้นได้ แต่ในบางประเทศมีแนวความคิดเกี่ยวกับการคำนวณกำไรจากการขายผ่อนชำระเช่นเดียวกับการขายเชื่อ คือ ถือ กำไรเป็นรายได้ในงวดบัญชีที่จำหน่ายสินค้านั้นได้
วิธีการปฏิบัติเกี่ยวกับสัญญาซื้อขายผ่อนชำระ
วิธีการปฏิบัติเกี่ยวกับสัญญาซื้อขายผ่อนชำระ ควรระบุเงื่อนไขที่สำคัญไว้ดังนี้
1. ใช้วิธีการเช่าซื้อสินทรัพย์ จนกว่าจะชำระเงินค่างวดสุดท้าย
2. กรรมสิทธิ์ในสินทรัพย์หรือสินค้าจะเป็นของผู้ซื้อ ต่อเมื่อผู้ซื้อจะต้องชำระเงินค่างวด สุดท้ายแล้ว ซึ่งเป็นสัญญาแบบมีเงื่อนไข
3. โอนกรรมสิทธิ์ให้กับผู้รักษาผลประโยชน์หรือบริษัทเงินทุนไว้ จนกว่าจะมีการผ่อน ชำระเงินงวดสุดท้ายแล้ว จึงโอนกรรมสิทธิ์ในสินค้าให้กับผู้ซื้อ แต่ถ้าไม่ชำระเงินงวดกรรมสิทธิ์จะกลับเป็นของผู้ขายอย่างเดิม
วิธีการบันทึกบัญชีตามเกณฑ์การขายผ่อนชำระ
การบันทึกบัญชี จะบันทึกตามเกณฑ์การขายผ่อนชำระ โดยถือกำไรจากการขายผ่อนชำระเกิดขึ้นตามส่วนของยอดขายที่เก็บเงินได้ในแต่ละปี เงินที่เก็บได้นี้ ถือเป็นการคืนทุนส่วนหนึ่งอีกส่วนหนึ่ง ถือเป็นกำไรขั้นต้น ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงค่าใช้จ่ายในการขายและการบริหารทั่วไปถือเป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในแต่ละปีวิธีการบันทึกผลต่างระหว่างราคาขายกับต้นทุนขาย เป็นกำไรขั้นต้นที่ยังไม่ถือเป็นรายได้ และโอนเป็นรายได้ตามส่วนของเงินงวดที่เก็บได้ ส่วนค่าใช้จ่ายที่นำมาหักจากรายได้ตามเกณฑ์นี้ให้ถือว่า ค่าใช้จ่าย ที่เกิดขึ้นจากการขายผ่อนชำระในงวดใด ก็ให้ถือเป็นค่าใช้จ่ายหักจากำไรในงวดบัญชีนั้นวิธีการบัญชีที่ดีสำหรับการขายผ่อนชำระ ปัจจุบันนิยมแสดงยอดขายผ่อนชำระ และต้นทุนขายผ่อนชำระของแต่ละปี ให้ปรากฏในงบกำไรขาดทุนประจำปีด้วย โดยนำกำไรขึ้นต้นที่ยังไม่ได้รับเงิน หัก ออกจากกำไรขั้นต้นของปี แล้วบวก ด้วยกำไรขั้นต้นจากการขายผ่อนชำระของปีก่อนที่ได้รับเงินในปีปัจจุบัน รวมเป็นรายได้ของปีปัจจุบัน ส่วนกำไรขั้นต้นจากการขายผ่อนชำระที่ยังไม่ได้รับเงินทั้งสิ้น จะปรากฏในงบดุลเมื่อวันสิ้นงวดบัญชี เป็นรายได้จากการขายผ่อนชำระรอตัดบัญชี
การบันทึกบัญชีเกี่ยวกับการขายผ่อนชำระ มีบัญชีต่าง ๆ ที่เพิ่มเติมจากการขายปกติ ดังนี้
1. บัญชีขาย บัญชีลูกหนี้ และบัญชีต้นทุนขาย ให้ระบุด้วยว่า เกิดจากการขายผ่อนชำระ ขายโดยเช่าซื้อ เพื่อแยกต่างหากจากการขายปกติ
2. บัญชีกำไรขั้นต้นขายผ่อนชำระ เกิดจากราคาขาย หัก ด้วยต้นทุนขาย ซึ่งเป็นกำไรขั้นต้นที่ยังไม่ถือเป็นรายได้ จึงตั้งรอตัดบัญชีไว้ก่อนอันมีลักษณะเหมือบัญชีหนี้สิน ซึ่งจะปรากฎในงบดุลเมื่อวันสิ้นงวดบัญชี
3. บัญชีกำไรขั้นต้นขายผ่อนชำระ หรือโดยเช่าซื้อที่ยังไม่ได้รับเงินเกิดจากราคาขาย หัก ด้วย ต้นทุนขาย ซึ่งจะปรากฎยอดผลต่างอยู่ทางด้านเดบิต เป็นกำไรขั้นต้นที่ยังไม่ถือเป็นรายได้เพราะยังเก็บเงินไม่ได้ ต่อเมื่อเกิบเงินจากลูกหนี้ได้ ก็จะโอนกำไรขั้นต้นขายผ่อนชำระ ซึ่งจะปรากฎยอดอยู่ทางด้นเครดิต
4. บัญชีกำไรขั้นต้นขายผ่อนชำระ เกิดจากการขายปีก่อน แต่มาเก็บเงินได้ในปีปัจจุบัน จึงถือเป็นรายได้ของปีปัจจุบันโดยปกติการคำนวณกำไร จากการซื้อขายผ่อนชำระและการเช่าซื้อมักจะแยกจากการซื้อขายปกติ ซึ่งการคำนวณกำไรจากการขายผ่อนชำระ และการเช่าซื้อ แยกออกเป็นกำไรที่ถือเป็นรายได้ และไม่ถือเป็นรายได้ โดยศัพท์ทางบัญชีใช้คำว่า รับรู้รายได้ และไม่รับรู้รายได้
- กำไรที่ถือเป็นรายได้ (รับรู้รายได้) คำนวณจากจำนวนเงินที่เก็บได้จากลูกหนี้ระหว่างปีคูณ ด้วยอัตรากำไรขั้นต้น
- กำไรที่ยังไม่ถือเป็นรายได้ (ไม่รับรู้รายได้) คำนวณจากลูกหนี้ที่ยังเก็บเงินไม่ได้ คูณ ด้วยอัตรากำไรขั้นต้น
การคำนวณหาอัตรากำไรขั้นต้น
อัตรากำไรขั้นต้น (ปีปัจจุบัน) =
อัตรากำไรขั้นต้น (ปีก่อน) =